How to Make Aiyu Jelly ( 爱玉冰) | โอ๊ะเอ๋วคืออะไร


? (ภาษาไทยด้านล่างค่ะ) One of the most mysterious foods I came across while traversing and eating Phuket (and also Phang-Nga) is ‘O-Aew’ โอ๊ะเอ๋ว or so they call it. It is a staple sweet delicacy of Phuket, a clear type of soft jelly typically eaten with red bean, black jelly, candied palm seeds and so on and topped with red syrup. Usually, this is a cheap refreshing thing and it is sold off the street as a kind of shaved ice dessert usually and preferably topped with a thick red syrup.

I tried many times asking Phuket locals, even the ones who have been selling it, what ‘O-Aew’ actually is. What is it made of? But to no avail. People would immediately be taken aback. Confused. Clearly at a loss. One of them, though, ventured that this clear jelly is something derived from banana peels which naturally contain pectin.

It was not until a couple of years ago when we were in Phuket again that we came across something worthwhile – the real knowledge of what ‘O-Aew’ is, something with a correct historical context that gives me a clearer picture of Phuket’s eating culture.

O-Aew is, in fact, ‘Aiyu Jelly‘ – a type of creeping fig whose seeds produce gel (pectin) when soaked. I managed to buy some from an old traditional Chinese apothecary in Phuket (via mail) and did my own experiments. Using cold water, I put the seeds into a teabag. The ratio is 15 grams of seed for two cups of water for a tightly packed and soft jelly. I soak the seeds for a little bit before starting to massage them and only then it starts to gel. I keep on massaging until nothing came out and the seeds become clean. During the process, though, some of the seeds had escaped out of the teabag, so I filter the water once again over the sieve I bought from our last trip to Portugal. And after a brief consideration, I decided to add a handful of goji berries and dried longans I bought from Hat Yai into the mixture before putting everything to rest – lid covered – in the refrigerator for a couple of hours just to make sure I get a thick consistency of a jelly that I prefer.

And the result is awesome! The added goji berries and longans give Aiyu Jelly a slight sweetness and fragrance. Something perfect to snack on (shared with my hubby in one go:) in a typical sweaty Bangkok afternoon.


พูดถึงโอ๊ะเอ๋ว ขนมหวานน้ำแข็งไส ของดังของภูเก็ต สิ่งที่น่าแปลกใจคือทำไมถึงไม่มีคนที่จะสามารถบอกเราได้ว่าขนมชื่อแปลกนี่มันคืออะไรกันแน่ ไปถามร้านเจ้าดังย่านซอยสุ่นอุทิศในตัวเมืองเก่าภูเก็ตเมื่อสิบปีก่อน ได้ความว่าทำจากกล้วย แต่คนที่เคยกินก็จะรู้ว่าโอ๊ะเอ๋วไม่มีความเป็นกล้วยเอาเลย ซึ่งคำตอบนั้นไม่ได้ทำให้เราหายสงสัย จนกระทั่งไปภูเก็ตครั้งหลังสุดมาเมื่อเดือนก่อน (กรกฏาคม 2560)ได้เจอกันกับคุณพงษ์ เจ้าของร้าน Cafe’ In Thai Hua Museum ที่ขายโอ๊ะเอ๋วแบบโมเดิร์น คุณพงษ์เป็นชาวภูเก็ต ก็เติบโตมาแบบสงสัยๆ ในตัวโอ๊ะเอ๋วมาเหมือนกัน จนกระทั่งได้ไปเที่ยวไต้หวัน ได้ไปกิน Aiyu Jelly ของดังของไต้หวัน ถึงได้เกิดบางอ้อ สามารถจับเรื่องราวเชื่อมประติดประต่อ หาเมล็ดโอ๊ะเอ๋วมาทำขาย เป็นรสชาติต่างๆ หน้าตาสวยงามเป็นเอกลักษณ์ของร้านตนเอง

โอ๊ะเอ๋ว ก็คือเมล็ดแห้งของผลไม้ที่มีลักษณะคล้ายๆ กับมะเดื่อ (fig) เป็นของดั้งเดิมของไต้หวัน และแน่นอนว่าภูเก็ตที่มีชาวจีนฮกเกี้ยนซึ่งก็เป็นจีนที่มีมากในไต้หวันเข้ามาอยู่เยอะ การกินอ้ายอิ๋วเยลลี่นี่ก็ติดตามมาด้วย แต่เนื่องจากเมล็ดอ้านอิ๋วนี่มีราคาแพงทีเดียว คือกิโลละจาก 5 พันบาท เรื่อยไปตามคุณภาพ คนที่ทำขายก็เลยหาวิธีเพิ่มเนื้อให้เจลลี่ชนิดนี้ ซึ่งก็อาจจะหมายความว่ามีการใส่กล้วย เพราะกล้วยมีเพคตินธรรมชาติอยู่มากด้วยนั่นเอง ลิ้งค์นี้มีรายละเอียดครบถ้วนเป็นภาษาไทยค่ะ

ดิฉันได้ซื้อเมล็ดโอ๊ะเอ๋วมาลองทำดู อัตราส่วนคือ 12 กรัมต่อน้ำ  2 ถ้วย ใช้น้ำธรรมดาอุณหภูมิห้อง ขยำเมล็ดโอ๊ะเอ๋วในผ้าขาวบางไปประมาณ 5 นาที น้ำก็จะเกิดบอดี้ขึ้นมา มีสีเหมือนชาอ่อนๆ เมื่อทิ้งไว้สีจะเข้มขึ้นเล็กน้อย และจับตัวกันเป็นเยลลี่นุ่มๆ

โอ๊ะเอ๋วฝีมือดิฉัน รับประทานกับลำใยและส้มลอยแก้ว และถั่วแดงอาซุกิ

รสชาติจะออกเหมือนชาสมุนไพรอ่อนๆ และเยลลี่ของโอ๊ะเอ๋วมีความนุ่มมากๆ หากไม่มีการใส่ผงวุ้นหรือเจลาตินประกอบนะคะ

ขั้นตอนการทำโอ๊ะเอ๋วเค้าบอกว่าห้ามใส่น้ำตาล หมายถึงให้กินโอ๊ะเอ๋วกับน้ำเชื่อมหากต้องการความหวาน ซึ่งคนไต้หวัน บอกเลยว่าสรรหารสชาติมาก และมักนำเยลลี่โอ๊ะเอ๋วนี่ไปผสมกับน้ำมะนาวน้ำผึ้ง ส่วนคนไทยที่ภูเก็ตนิยมรับประทานกับถั่วแดงต้ม ลูกเดือย หรือเฉาก๊วยอะไรก็ว่าไปค่ะ

รูปผลโอ๊ะเอ๋ว รูปเขียวคือตัวผลของต้นนี้ ส่วนที่อยู่บนพานด้านบนคือ เค้าจะผ่าผลไม้อันนี้ออกมา แล้วกลับด้านให้เมล็ดด้านในออกมาด้านนอก แล้วตากให้แห้ง พอแห้งก็ค่อยขูดเมล็ดออกมาใช้ >> โอ๊ะเอ๋วสีแดงคือจากร้านในซอยสุ่นอุทิศ >> เมล็ดที่ดิฉันซื้อมาลองทำ และสามรูปล่างคือโอ๊ะเอ๋วฝีมือดิฉันเองค่ะ

แล้วเมล็ดโอ๊ะเอ๋วนี่ซื้อได้ที่ไหน ดิฉันเห็นที่ร้านหงวนชุนต๋อง ร้านขายยาเก่าแก่ในเมืองเก่าภูเก็ต ซื้อจากที่นั่นหน่ะค่ะ ราคา 179 บาท สำหรับ 34 กรัม หรือ 0.34 ขีด ทำได้ประมาณ 1 ชามใหญ่ หรือน้ำประมาณ 5 ถ้วย


สามารถอ่านเพิ่มเติมเรื่องของโอ๊ะเอ๋วได้อีก ที่ Danielfooddiary 

© OHHAPPYBEAR


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *