The Wonton Noodles of Phang Nga | บะหมี่เกี๊ยวสูตร 100 ปี ที่พังงา

 


Above: A bowl of wonton noodle soup at Bamee Phi Sao, scroll for more pictures — บะหมี่น้ำที่บะหมี่พี่สาวท้ายเหมือง

(EN/TH) เวลาไปเที่ยวเล่นทะเลภาคใต้ สิ่งแรกที่ต้องกินเสมอก็คือ อาหารทะเลกับอาหารใต้ ใครๆ ก็ทำกันแบบนั้น แต่ก็มีอีกอย่างที่เห็นแล้วอดไม่เคยได้ ต้องขอกินเสมอไม่ว่าจะอิ่มมากแค่ไหนก็ตาม สิ่งนั้นคือบะหมี่เกี๊ยวค่ะ

Phang Nga, so-called the sister province of Phuket, is showing off its long history with a bowl of egg noodles. For many well-informed historians, Phang Nga’s Old Town of Takua Pa is the predecessor of Phuket Old Town. The reason? This is the mainland, while Phuket, being an island, was not fully accessible until the motor bridge. A Phang Nga native told me recently that it used to be that Phuket folks came all the way to visit Takua Pa, and now it’s vice versa. People in Phang Nga, if looking for a zesty getaway, should cross the motor bridge to visit Phuket.

ครั้งหลังสุดที่ไปพังงา ได้เที่ยวเล่นไปไกลถึง อ. ท้ายเหมือง ต้องบอกก่อนว่า สถานที่เที่ยวของพังงาแต่ละที่ อยู่ห่างไกลจากกันมาก ในขณะที่โรงแรมริมทะเลส่วนใหญ่อยู่ย่านเขาหลัก สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ เช่นอำเภอตะกั่วป่า หาดท้ายเหมือง เสม็ดนางชี อ่าวพังงา และเมืองพังงาที่มีภูเขาล้อมรอบ ล้วนต้องขับรถอย่างน้อยไปกลับก็ขาละ 30 กิโลเมตร แต่พังงามีร้านอร่อยมากมายเต็มพื้นที่ และมีบะหมี่เกี๊ยวสูตรร้อยปี ที่น่าจะเป็นคอมฟอร์ตฟู๊ดได้สำหรับหลายๆ คน

Those who have been to Phang Nga should realise how far apart things are in this province. Google Maps helps tremendously, and you should look at it to get the right bearings. With Takua Pa Old Town settled along the Takua Pa river in the north, visitors should be up for a drive if they want to go to other places, say, Khao Lak (about 39 k.m. south), Samet Nangchee Viewpoint (about 100 kilometres south), or even Phang Nga town centre for a bowl of their famous Khanom Cheen, which is also an hour away. But luckily, no matter where you are, a delicious bowl of homemade noodles is what you can always rely on in Phang Nga.

บะหมี่พังงาก็เกี่ยวข้องกับเวฟคนจีนอพยพที่เข้ามาพื้นที่ตรงนี้เกือบสองร้อยปีก่อน พังงาเป็นเมืองเหมืองแร่มาก่อนภูเก็ต (สามารถดูหนังเรื่อง มหาวิทยาลัยเหมืองแร่ ประกอบ) ที่พังงาเป็นเมืองเหมืองแร่ก่อน ก็เพราะพังงาเป็นแผ่นดินใหญ่ ไม่ใช่เกาะเหมือนภูเก็ต เมืองเก่าตะกั่วป่าและระนอง จึงมีมาก่อนเมืองเก่าภูเก็ต

We all know about the waves of Chinese immigration that had influences on the local food around the world. In southern Thailand, among other things, there is an array of noodles. Egg noodles are a big fixture in the Thai southern region. In Phang Nga, the first recipe that we know of was settled here more than a hundred years ago, during the time when tin mining in this province was the thing. The great grandfather of the currently very popular ‘Bamee Talad Kwang บะหมี่ตลาดขวาง’ hoped he would continue being a goldsmith when he passed through the Strait of Malacca and resettled his life in the area of Phang Nga town longer than a century ago. “But things weren’t going well for someone with such a craftsmanship during that time,” says his great grandson Kit Jintaniti, now running ‘Bamee Talad Kwang’ in Takua Pa, about 100 kilometres north of his great grandfather’s first shop.

Above: A scene at Takua Pa Old Town

ในบรรดาจีนอพยพที่เข้ามาแถบแหลมมาลายู และภาคใต้ของไทยก็คือจีนกวางตุ้ง อาก๋งของร้าน “บะหมี่ตลาดขวาง” บะหมี่เจ้าดังของพังงา มาตั้งต้นใหม่ในไทยด้วยอาชีพงานฝีมือที่ติดตัวมาคือ “การเป็นช่างทอง” แต่จังหวะของการทำทองในยุคร้อยกว่าปีก่อน ยังมีไม่มาก อาก๋งคนนี้เลยเริ่มต้นทำบะหมี่เกี๊ยวขาย เพราะชาวจีนที่อพยพมาอยู่ย่านนี้เยอะ สูตรบะหมี่ของอาก๋งท่านนี้ ก็ถูกส่งต่อไปให้ลูกทั้ง 8 คน ปัจจุบัน “บะหมี่ตลาดขวาง” ที่โด่งดังเรื่องบะหมี่เกี๊ยว น้ำซุปสีทองใสด้วยซีอิ้วขาว หน้าขาหมู หมูตุ๋นและหมูแดง มีทั้งหมด 5 สาขา ตัวเมืองพังงาที่ถนนตลาดขวางและไม่ไกลกันนัก 2 ตะกั่วป่า 1 ภูเก็ต 1 และกรุงเทพฯ 2 และตอนนี้เป็นลูกหลานรุ่นที่ 4 เรียบร้อยแล้ว

“Being a Cantonese with a bit of noodle-making knowledge, my great grandfather turned towards making noodles and wontons. The business was booming. It turned out that a lot of Chinese immigrants during that time were looking for a comforting taste of home. And now, the rest is history.”

‘Bamee Talad Kwang’ now has two branches in Phang Nga town, with the original shop on the small alley called ‘Talad Kwang,’ the namesake. In Takua Pa, where Kit’s parents are gradually stepping back, the family still carries on the same recipes as their great-grandfather with only some minor alterations.

“Our noodles are thin, and our broth is light and golden,” says Kit. “If you are to have just one bowl, order a dry wonton noodle with the soup on the side, so you can savour every flavour detail there is in the meal.”

Above: Thai Mueang Beach, beware of strong waves and plunging shores. This is a long beach on a ruler-straight shore.

“คนจีนในพังงาเยอะมาก กินติ่มซำตอนเช้า ตอนเที่ยงก็เกี๊ยวบะหมี่ได้ มันง่ายและอร่อย” คุณกฤต จินต์นิติ เจ้าของร้าน “บะหมี่ตลาดขวาง” สาขาตะกั่วป่าเล่าให้ฟัง “ส่วนที่สาขานี้สะดวกหน่อย เพราะคนที่มาเที่ยวเมืองเก่าสามารถแวะมากินได้ อาก๋งมีลูก 8 คน แต่ละคนก็แยกครอบครัว ทุกคนได้สูตรบะหมี่เกี๊ยวเดียวกันติดตัวไป แต่รสชาติตอนทำไม่มีเหมือนกัน เพราะน้ำหนักมือของแต่ละคนไม่เหมือนกัน”

The prominence of Chinese in Phang Nga reflects the local food choices. Mornings are greeted with a bowl of congee and a selection of dim sum over a pot of tea. Lunches can be anything, but a bowl of egg noodles is always an affordable fixture.

ที่อำเภอท้ายเหมือง อำเภอที่มีชายหาดยาวเป็นเส้นตรงเป็นเอกลักษณ์ เราเจอบะหมี่อีกเจ้า ชื่อว่า “บะหมี่พี่สาว” ที่เขียนไว้ว่า “พ.ศ. 2482” บะหมี่เจ้านี้เส้นอ้วนกว่าเจ้าตลาดขวางนิดนึง น้ำใสๆ มีหน้าหมูแดง ไก่ต้ม และสามารถสั่งลูกชิ้นภูเก็ตมาทานด้วยได้ อร่อยดีค่ะAbove: Nam Tok Lampi, not too far from Thai Mueang Beach, is also included in the ticket to the Khao Lampi-Hat Thai Mueang National Park.

In Thai Mueang district, about 40 minutes south of Takua Pa, a small noodle shop boasts its settlement year of 1939. “Bamee Phi Sao Thai Mueang บะหมี่พี่สาวท้ายเหมือง make their egg noodles fatter, lending a bit of a heartier feel. Their broth was clear, and their toppings were shredded boiled chicken and red BBQ pork, sliced. They offer a staple side dish of ‘Phuket-style fish balls.”

ท้ายเหมืองอาจจะไม่ใช่จุดท่องเที่ยวที่คนเยอะ แต่ที่เรามาเห็นมีโฮสเทลเก๋ๆ แทรกตัวอยู่ในตลาด คาเฟ่ที่ดีงาม และร้านโชห่วยขายทุกอย่างผสมไปกับร้านขายขนมสดแบบคนพังงาภูเก็ต หากชอบธรรมชาติ ให้ขับไปที่อุทยานเขาลำปี-ท้ายเหมือง ไปดูทะเลอย่างที่ว่า พร้อมกับทุ่งเสม็ดขาว ซื้อบัตรเข้าชมตรงนี้ สามารถไปเที่ยวน้ำตกลำปี และน้ำตกโตนไพรได้เลยในวันเดียวกันค่ะ

เอาจริงๆ อาหารหลายอย่างย่านนี้ มีสูตรเก่าแก่ร่วมร้อยปีแทบทั้งนั้น คราวหน้าจะมาเล่าอีกนะคะว่าไปเจออะไรมาอีกในทริปพังงาค่ะ

Above: Nam Tok Ton Phrai, not too far from Nam Tok Lampi, is also included in the ticket to the Khao Lampi-Hat Thai Mueang National Park.

In case you find yourself in the area, note that Thai Mueang is where Phang-Nga’s longest beach is located. The Thai Mueang Beach is a long stretch of straight shore. And that means strong tides and plunging shores. Just do not swim in this area. Nearby is the beautiful Khao Lampi-Hat Thai Mueng National Park, where you can venture in and see their “Samed Khao” forest (Paper Bark Trees, Melaleuca cajaputi). A ticket to this national park also includes two more waterfalls nearby: the Lampi Waterfall and the Ton Phrai Waterfall. Cheers! ??


© OHHAPPYBEAR


 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *