เที่ยวธนาคารแห่งประเทศไทย | Bank of Thailand Learning Center, Bangkok

(TH/EN) To me, there are two things in the world that would NEVER go out of style: money and knowledge. 

I was in my sophomore year, my father allowed me to drive to school for the first time. One condition though, was that each evening, I was to pick him up at his work. My university was on Henri Dunant Road, his office on Silom. Usually, he would get off work late, and strangely, instead of going window shopping at the MBK mall like most of my peers, I would rather be sitting around, doing my homework and reading at his office’s vast library. The waiting was only for a couple of hours a day, but the result of being surrounded by books and loads of inspiration and knowledge got me a lifetime addiction. With zero self-pressure, I got to be the top of the class from each and every single time out of the tests. I guess major factor was this alone-time reading and studying. And then there’s a forever love for books, well-crafted literature, and being immersive in such a cool nerddom. Library – I found – is just my space.

ประตูตู้เซฟห้องเก็บธนบัตรดั้งเดิม ที่ต้องใช้คนถึงสามคนในการเปิด หนึ่งในประตูเหล่านั้นถูกย้ายขึ้นมาด้านหน้า ธนาคารถือว่าเป็นประตูศักดิ์สิทธิ์ มีการเจิมของพระ และมีชื่อว่าประตูมั่นคง

So, it was beyond my wildest dreams when I learnt that Bank of Thailand – the sacred and super secretive and normally tightly-secured place – is now opening their old bank note printing building up for public. This is Thailand’s first printing place for bank notes we are talking about. This place was inaugurated in 1969 and closed down in the late 2000s when the printing technology changed, hence a need for the bank to move this function to a larger, more suitably accommodating space out of town.

Now, the once all-closed-in fortress has become three things: Bank of Thailand Museum where 1.5-hrs guided tours are available (in Thai only) daily (last tour at 14.30), the super cool Library named after H.H. Prince Vivadhanajaya who was the Bank of Thailand’s first governor – where the online archive is connected with 7,000 libraries around the world including key ones in Thailand. And the super cool river-looking coffee shop – run by Pacamara Roasters – where gourmet coffees run at about Bt55-65 a cup and savoury menu at less than Bt100 a dish! Talking about encouraging people to come over! Very generous.

ธนบัตรหนึ่งใบต้องใช้เครื่องพิมพ์ถึงสามเครื่อง ซึ่งทั้งหมดถูกนำมาจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้

For the maximum security, this riverside printing building was designed to be a like fortress. While being only 5-storey high, its core structure was designed to be able to withstand heavy loads of as much as a 30-storey skyscraper. Its unique roofing – the stark graphic layers of egg-shaped dome – was in fact functional, designed to absorb the ear-splitting noises of the printing machines. After a decade of closure that was followed by a 14-month of restoration, the super thick outer walls of the building were carefully demolished and replaced with wall-to-ceiling glasses, allowing for the first time the magnificent views of the river and the Rama 8 bridge!



We had so much fun there last Saturday. We spent the morning enjoying the Bangkhunprom Palace, had lunch at Krua Apsorn near the National Museum, came back for the Museum’s tour and ended our day of leisure with a cup of piccolo looking at Bangkok’s super shrouded sky. We love this place and will definitely go back.

Parking is available on site. Contact info and hours of the place are below.

สไตล์สองอย่างที่ไม่มีวันตายในความคิดของดิฉันก็คือ เงิน และความรู้ 😀 ซึ่งคิดว่าหากมีทั้งสองและรู้จักใช้อย่างฉลาดและควบคู่กัน ก็คิดว่าน่าจะหาได้เรื่อยๆ ประมาณเงินทองพอกพูนจากความรู้ที่มีและสะสมเพิ่ม ไม่มีวันจบสิ้น สมัยเรียนมหาวิทยาลัย หน้าที่หนึ่งที่จะต้องทำเพื่อแลกกับการใช้รถของพ่อ ก็คือหน้าที่การขับรถไปรับบิดาที่ทำงานทุกเย็น อันนี้อาจเป็นกุศโลบายของพ่อดิฉันก็ได้ ที่อนุญาตให้ดิฉันหัดขับรถไปไหนมาไหนได้ตั้งแต่ยังเด็กๆ แต่ขับรถไปแบบมีพ่อนั่งไปด้วยตลอดนะ หนึ่ง เลยได้ใช้เวลาตอนรถติดคุยกัน เม้ามอยเรื่องต่างๆ ภาษาพ่อลูก ซึ่งหมายถึงพ่อจะรู้เรื่องราวทุกอย่างของเราหมด สอง เราได้ใช้รถไปเรียนทำให้มีความสะดวกและไม่ต้องเหนื่อย แต่ตอนเย็นหน้าที่ๆ จะต้องไปรับพ่อทุกเย็น ก็ทำให้ขี้เกียจในการไปเที่ยวเล่น เพื่อนคนอื่นอาจไปเดินดูของแถวสยาม ส่วนดิฉันจะต้องไปรอรับบิดาที่ทำงาน ซึ่งที่ทำงานของพ่อในตอนนั้น ก็พอดีว่ามีห้องสมุดสวยงาม เปิดแอร์เย็นๆ แถมมีหนังสือน่าอ่านมากมาย เลยกลายเป็นที่สิงสถิตย์ของนิสิตคนนี้ทุกๆ เย็น ไปนั่งทำการบ้าน อ่านหนังสือ อ่านไปอ่านมา ก็ปรากฏว่า สอบทุกครั้ง ดิฉันได้คะแนนสูงสุดมันทุกครั้ง นี่มันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเองนะคะ คือไม่ได้กดดันหรือบังคับตัวเองให้อ่านหรือทำตัวขยันแต่อย่างไร แต่ก็ทำให้ค้นพบว่า อ่านหนังสือนี่มันสนุกจัง และตอนนี้ แม้ว่าจะไม่ต้องสอบอะไรแล้ว แต่ก็ไม่เคยที่จะไม่อ่านหนังสือ และห้องสมุดก็เป็นสถานที่โปรด ที่เห็นแล้วเหมือนมีพลังดูด ทำให้ยังชอบเข้าไปนั่งเล่นนั่งสิงแม้จะเล่นๆ แป๊ปๆ ก็ตามจนถึงทุกวันนี้

หนึ่งในห้องเซฟที่ถูกนำมาใช้เป็นห้องบรรยายถึงหน้าที่ของธนาคารกลางของชาติไทย มีพร็อพเป็นตู้กรงเหล็กที่เคยใช้ขนธนบัตร

ก็ปรากฏว่า เมื่อเสาร์ที่ผ่านมา หลังจากอ่านเรื่องนี้ของ The Cloud ดิฉันก็ได้จัดการไปเที่ยวศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย ที่เพิ่งเปิดโรงพิมพ์ธนบัตรแห่งแรกของประเทศให้เป็นสถานที่เรียนรู้ใหม่ ทุบกำแพงที่เคยปิดรอบอาคารเพื่อความปลอดภัยออกให้หมด กรุกระจกใสเข้าไปแทน ผลที่ได้ก็คือ ห้องสมุด และศูนย์การเรียนรู้ที่มีวิวแม่น้ำเจ้าพระยา และสะพานพระราม ๘ ที่แสนจะสวยงามอลังการดีงามอย่างมาก

Nerddom แห่งใหม่แห่งนี้สวยงามและเท่มาก เป็นอาคารที่ออกแบบโดย ดร.รชฎ กาญจนวนิช และ ม.ล.สันธยา อิสระเสนา (ขอบคุณข้อมูลจาก The Cloud) โดยจุดเด่นก็คือหลังคาที่เป็นรูปคอนกรีตหล่อรูปไข่ซ้อนกัน ที่ออกแบบเพื่อเก็บเสียงที่ดังมากของเครื่องพิมพ์ธนบัตรในยุคนั้น (ที่ต้องใช้ถึงสามเครื่องในการพิมพ์ธนบัตรแต่ละใบ) ตอนนี้ พื้นที่ทั้งหมดของโรงพิมพ์ถูกออกแบบและจัดแบ่งให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ มีสามส่วน ได้แก่

ในส่วนของพิพิธภัณฑ์การเงิน ที่แสดงถึงวิวัฒนาการของการใช้เงินตราของโลก และของประเทศไทย

(1) พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย (เปิดทุกวัน ยกเว้นวันจันทร์และวันหยุดราชการ) ที่จะมีเจ้าหน้าที่พาชม จัดทั้งหมดวันละ 6 รอบ คือ รอบเช้า 9.30, 10.00 และ 10.30 น. รอบบ่าย 13.30, 14.00 และ 14.30 น. โดยในแต่ละรอบจะสามารถเข้าชมได้ไม่เกิน 40 คน ส่วนผู้ที่ต้องการเข้าชมเป็นหมู่คณะ สามารถเข้าชมได้ระหว่างอังคาร ถึงศุกร์ โดยจะต้องติดต่อทางพิพิธภัณฑ์ก่อน โทร. 02 356 7766 กด 2 และส่งหนังสือยืนยันทางอีเมล์ learningcenter@bot.or.th โดย 6 เดือนแรก หรือ มกราคม – มิถุนายน 2561 จะยังไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าชม

โปรดทราบว่า หน้าที่พิมพ์ธนบัตร เป็นของธนาคารกลาง แต่หน้าที่ผลิตเหรียญเป็นของกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง

(2) ห้องสมุดพระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ที่มี online archive เชื่อมกับมหาวิทยาลัยหลักของไทย 5 สถาบันและห้องสมุดทั่วโลกอีกถึง 7,000 แห่ง ทำให้สามารถค้นหาข้อมูลและสามารถยืมสำเนาข้อมูลและไฟล์อิเล็กทรอนิกส์จากห้องสมุดที่เป็นเจ้าของได้ ห้องสมุดแห่งนี้ก็มีวิวแม่น้ำที่แสนจะอลังการ มี pod สำหรับกลุ่มที่อาจต้องใช้เสียง และสำหรับดูสื่อมัลติมีเดีย และมีส่วนเงียบๆ นั่งอ่านหนังสือด้านในอีกต่างหาก หนังสือที่นี่แน่นอนว่าเน้นเรื่องการเงิน การธนาคาร ซึ่งว่าไปอาจจะดูยาก แต่เรื่องเงินทองเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวในชีวิตประจำวัน รู้ไว้ไม่เสียหลาย และมีค่ามากมายยิ่งกว่าเรื่องดราม่าบ้าบอ

บรรยากาศสวยงามน่าเรียนของห้องสมุดพระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ผู้เป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนแรกเมื่อก่อตั้งใน พ.ศ. 2485
ด้านในห้องนี้เป็น index archive เก๋มาก

(3) ร้านกาแฟ ร้านขายของที่ระลึก ที่นั่งเล่น และห้องประชุม ร้านกาแฟจาก Pacamara Roasters ที่มีในโรงพยาบาลจุฬาฯ ก็มาเปิดที่นี่ จุดเด่นนอกจากวิวที่เห็น ก็คือราคาของกาแฟที่เป็นมิตร แก้วละประมาณ 55-65 บาทโดยเฉลี่ย และมีอาหารจานเดียวง่ายๆ ขายในราคาต่ำกว่า 100 บาท

มีที่จอดรถในอาคาร วันเวลาทำการของศูนย์เรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย และแผนที่ อยู่ด้านล่างค่ะ

โปรดดูหลังคาศาลพระภูมิของที่นี่

Bank of Thailand (click for map) – 273 Samsen Road, T: 02-356-7766, www.botlc.or.th/service. Closed Mondays and public holidays. Library: 9.30-20.00, Museum: 9.30: 16.30, Coffee Shop: 9.30-19.00.

© OHHAPPYBEAR


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *